วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กระบวนการผลิตภาพยนตร์

กระบวนการผลิตภาพยนตร์จะแบ่งขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอนได้แก่

1.ขั้นตอนก่อนการผลิตภาพยนตร์ (Pre-Production)
     เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อการผลิตภาพยนตร์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นขั้นตอนที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้เวลา แรงงาน และงบประมาณในการปฏิบัติงานถ่ายทำ
   
     การวางแผนการผลิตภาพยนตร์
    การผลิตภาพยนตร์จำเป็นต้องผ่านกระบวนการวางแผนการผลิตเช่นเกียวกับสื่อประเภทอื่นๆ ดังนั้นการวางแผนจึงควรดำเนินเป็นข้อๆดังนี้
   1.1 กำหนุดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์
    ในการผลิตภาพยนตร์ควรมีการกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่าเป็นการศึกษาหรือเพื่อกิจกรรมใดๆ เพราะมีผลต่อแนวทางที่จะใช้นำทางให้แก่สื่อนั้นๆ
    1.2 พิจรณาเนื้อเรื่อง
    การพิจรณาเนื้อเรื่องที่จะนำมาผลิตนั้น ควรจะต้องตามวัตถุประสงค์ของการผลิต ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และตรงตามตลาดที่ต้องการ โดยพิจรณาเนื้อเรื่องมาจากประสบการณ์ของตัวเองหรือจากการบอกเล่า หรือจากหนังสือนวนิยายต่างๆ
    1.3 เขียนโครงเรื่อง
    การเขียนโครงเรื่องเป็นการเขียนแนวหรือโครงร่างที่ร่างขึ้นมาก่อนที่จะเขียนบท (script) วัตถุประสงค์ของการเขียนโครงเรื่องก็เพื่อให้ภาพกระจ่างชัดเกี่ยวกับการลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่แต้จนจบ
    1.4 เขียนบทภาพยนตร์
    บท (script) เป็นข้อเขียนที่ใช้เป็นต้นแบบในการถ่ายทำหรือผลิตภาพยนตร์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความพร้อมในการเตรียมงานเพื่อปฏิบัติงาน ในการเขียนบทภาพยนตร์ จำเป็นต้องอาศัยความสามารถทางการใช้ภาษาและมีความรู้ในเรื่องของการผลิตภาพยนตร์ควบคู่กันไป อีกทั้งต้องมีการศึกษาค้นคว้าล่วงหน้า เพื่อให้ได้รูปแบบและเนื้อหาที่เหมาะสม
    1.5 ค่าช้จ่าย
    ค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณในการผลิตภาพยนตร์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การผลิตภาพยนตร์มีคุณภาพ หากมีงบประมาณมากผู้จัดก็สามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์การถ่ายทำได้มีคุณภาพมากขึ้น
    1.6 การเลือกสถานที่สำหรับถ่ายภาพยนตร์
    ภายหลังจากการแยกบทภาพยนตร์ จะสามารถกำหนดจำนวนสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ว่าควรใช้สถานที่ที่มีสภาพและลักษณะอย่างใดและต้องใช้สถานที่นั้นกี่ครั้ง การเตรียมงานด้านสถานที่ คือ การจัดหาสำรวจตามข้อมูลที่ได้ระบุไว้ในภาพยนตร์ การหาสถานที่เหล่านี้ต้องไปสำรวจสถานที่จริง และถ่ายภาพจากมุมที่คิดว่าจะให้ถ่ายทำ
    1.7 ผู้ร่วมงาน (staff)
    การผลิตภาพยนตร์มิใช่เป็นงานที่ทำแต่เพียงคนเดียว แต่จำเป็นต้องอาศัยการทำงานเป็นกลุ่ม (team work) เช่น ผู้กำกับการแสดง ช่างภาพ ช่างศิลป์ ผู้ประกอบเสียง ผู้บรรยาย เป็นต้น ดังนั้น ในการคัดเลือกผู้ร่วมงานจะต้องคำนึงถึงบุคคลที่สามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นๆได้
    1.8 การคัดเลือกนักแสดง (Casting)
     การคัดเลือกนักแสดง ส่วนใหญ่เป็นงานของผู้กำกับการแสดงและผู้อวยนวยการสร้างภาพยนตร์ที่กำหนดขึ้น โดยวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมหลายๆด้าน เช่น ความสามารถทางการแสดง ประสบการณ์และผลงานต่างๆ ที่เคยแสดงมาแล้ว ตลอดจนบุคลิกภาพและรูปร่างหน้าตาของผู้แสดง ว่าจะตรงกับตัวละครในบทภาพยนตร์หรือไม่
    1.9 การเตรียมอุปกรณ์ในการถ่ายทำภาพยนตร์
    จากการแยกบทภาพยนตร์ทำให้ผู้เตรียมงานทราบ ในแต่ละฉากจะต้องใช้อุปกรณ์ประกอบถ่ายทำอะไรบ้าง มีอุปกรณ์พิเศษที่ใช้ประกอบฉากนั้นๆ
    อุปกรณ์ที่ใช้ประจำกองถ่าย ประกอบด้วยสิ่งต่างๆดังนี้
  1.อุปกรณ์ประกอบกล้องภาพยนตร์ เช่น กล้องภาพยนตร์ เลนส์ แมกกฃาซีน แบตเตอรี่ ขาตั้งกล้อง เป็นต้น
  2.อุปกรณ์เครื่องเสียง เช่น เครื่องบันทึกเสียง ไมโครโฟน บูม สายต่อ หูฟัง เป็นต้น
  3.อุปกรณ์เครื่องไฟ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดวงไฟ หลอดไฟ เป็นต้น

2.ขั้นตอนการถ่ายทำภาพยนตร์ (Production)
     การถ่ายทำภาพยนตร์เป็นขั้นตอนของการดำเนินการถ่ายจริง โดยพยายามควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามตารางการถ่ายที่กำหนดไว้ และเป็นงานที่เริ่มตั้งแต่การติดตั้งกล้อง การปรับหน้ากล้อง การปรับความชัด การบรรจุฟิล์ม ตลอดจนการซ้อมการแสดง และแสดงจริงตามบท
    การถ่ายภาพยนตร์แต่ละช้อตต้องถ่ายแผ่นสเลท ไว้ที่หัวช้อตด้วย เพื่อความสะดวกในการตัดต่อภายหลัง

3.ขั้นตอนหลังการถ่ายทำ(Post-Production)
    ขั้นตอนหลังจากการถ่ายทำมีกิจกรรมต่างๆดังนี้
- การตัดต่อฟิล์ม
   เป็นงานหลังการถ่ายทำซึ่งเมื่อส่งฟิล์มไปล้างกลับมาแล้ว ก็สามาเริ่มตัดต่อได้เลย โดนจะยึดแนวทางการตัดต่อช้อตต่างๆ เข้าด้วยกันตามบทภาพยนตร์(script) หรือเรียงช้อตแต่ละฉากรวมเป็นเรื่องเดียว
- การบันทึกเสียงภาพยนตร์
   เป็นการช่วยเพิ่มรายละเอียดให้กับภาพเชื่อมโยงให้เกิดความต่อเนื่อง เน้นอารมณ์ ความรู้สึกของผู้แสดง และชัดจูงให้ผู้ดูเกิดการจินตนาการตามวัตถุประสงค์ของภาพยนตร์ เสียงภาพยนตร์สามารถบันทึกได้ 2 ระบบคือ
1.ซิงเกิล ซิสเตม (single system) เป็นการบันทึกเสียงในขณะดำเนินการถ่ายภาพยนตร์พร้อมกับบันทึกเสียงไปด้วยโดยบันทึกเสียงลงแถบแม่เหล็กที่ขอบฟิล์ม
2.ดับเบิล ซิสเตม (double system) เป็นระบบการบันทึกเสียงด้วนเครื่องเทปบันทึกเสียง ที่แยกออกมาจากตัวกล้องภาพยนตร์
- การสำเนาภาพยนตร์
 เป็นการพิมพ์ฟิล์มภาพยนตร์ ถือว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิตภาพยนตร์

อ้างอิง : ดารา  รัชนิวัต. (2548). ภาพเคลื่อนไหวเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น